Angkhana Srisa-art ACC 12 No.23

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของ E-Commerce


ประเภทของอีคอมเมิร์ซ 

           มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่ง อีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้น 

อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้
  1. ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เน็ต
  2. ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภท ที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เน็ต
  3. ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
  4. รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
  5. ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่น ที่อีเบย์ดอทคอม (Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้
อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้
  1. อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

    - การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น
    - การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น
    - ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยสะดวก
     
  2. อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    - การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
    - การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
    - การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น
     
  3. อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce) ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้

    - การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ
    - การจัดการสินค้าคงคลัง
    - การจัดส่งสินค้า
    - การจัดการช่องทางขายสินค้า
    - การจัดการด้านการเงิน
อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้
  1. การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
     
  2. การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เน็ตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เน็ตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้ เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เน็ตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     
  3. อินเตอร์เน็ตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
     
  4. โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เน็ต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     
  5. การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     
  6. ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ (RSA = Rivets, Shamir and Adelman) ดีอีเอส (DES= Data Encryption Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภท สินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
  1. สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ต
     
  2. สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปะชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังเครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์


http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/e_commerce/03.html

องค์ประกอบของ E-Commerce

องค์ประกอบของ E-Commerce



การทำการค้าบนเว็บไซต์นิยมแบ่งตามลักษณะของผู้ค้า และกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ค้าทำธุรกิจอยู่ด้วยซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มได้ดังนี้ คือ
Business to Business (B-to-B) : เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์กรกับองค์กรซึ่งดดยทั่วไปจะเป็นสินค้าส่งออกหรือนำเข้าที่ต้องส่งสินค้าเป็นจำนวนมากๆ จะมีการชำระเงินผ่านทางระบบธนาคาร เช่น T/T , L/C Business to Consumer (B-to-C) : เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลกหรือภายในท้องถิ่นของตน ในส่วนนี้อาจจะรวมการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือค้าส่งขนาดย่อยไว้ด้วย ซึ่งการชำระผ่านระบบบัตรเครดิต อย่างไรก็ตาม การค้าแบบ B-to-C นี้มันทำให้เกิดการค้าแบบ B-to-B ในอนาคตได้ และหลายบริษัทฯ มักทำกิจกรรมสองอย่างนี้ในคราวเดียวกันConsumer to Consumer : เป็นการค้าปลีกระหว่างบุคคลทั่วไป หรือระหว่างผู้ใช้ทางอินเทอร์เน็ตด้วยกัน เช่น อาจจะเป็นการขายสินค้าหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้งานแล้ว รวมทั้งการขายซอฟต์แวร์ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากทีเดียวที่เปิดเว็บไซต์มาเพื่อขายซอฟต์แวร์ที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ซึ่งผู้พัฒนาอาจจะเป็นเพียงนักเรียนหรือนักศึกษาเท่านั้น ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นการแบ่งกลุ่มแบบคร่าวๆเท่านั้นที่จะช่วยให้ตัดสินใจว่าจะดำเนินแนวทางธุรกิจไปในรูปแบบใดในการทำธุรกิจบนเว็บซึ่งถือเป็นการเลือกคู่ค้าไปในตัว และจะต้องเตรียมตัวในลักษณะใดในการทำธุรกิจประเภทนั้น

องค์ประกอบของระบบ E-Commerce

องค์ประกอบหลักของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้เราสามารถประกอบธุรกิจได้ผ่านทางหน้าเว็บ มีดังนี้

- เว็บเพจหรือร้านค้าบนเว็บ : ที่เราสามารถจะประกาศขายสินค้าบนระบบอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงหน้าโฆษณาธรรมดาที่เอาไปฝากไว้กับเว็บไซต์อื่นหรือร้านอื่นเอาไว้ หรือมีชื่อร้านหรือเว็บไซต์เป็นของตนเอง เช่น www.siamgift.com, www.siamflorist.com เป็นต้น หน้าเว็บเพจสำหรับเสนอขายสินค้านี้บางทีเราจะเรียกว่า ”หน้าร้าน”

- ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ (Shopping Cart System) : เป็นระบบที่สามารถคลิกเพื่อสั่งซื้อสินค้าผ่านทางหน้าเว็บเพจได้ ซึ่งจะมีช่องให้กรอกจำนวนสินค้าที่สามารถสั่งซื้อได้ โดยจะเปรียบเทียบยการซื้อแต่ละครั้งเหมือนการหยอดของลงตะกร้าหรือรถเข็น และสะสมไว้จนกว่าจะพอใจแล้วจึงชำระค่าสินค้าผ่านแคชเชียร์อัตโนมัติ (ระบบตะกร้านี้จะมีหลายรูปแบบมาก และสามารถปรับเปลียนหรือออกแบบให้เหมาะกับสินค้าหรือบริการแต่ละชนิดได้)

- Secure Payment System : เป็นระบบคำนวณเงินและชำระค่าสินค้าที่ปลอดภัยโดยส่วนใหญ่จะเป็นการชำระผ่านทางบัตรเครดิต(ซึ่งในประเทศไทยปัจจุบันเราสามารถรับเงินผ่านทางเว็บด้วยบัตร Visa,AMEX,Master,SCB,และJCB ได้แล้ว ) ซึ่งการถ่ายโอนข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตบนเครือข่ายจำเป็นต้องมีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการรั่วไหล ระบบที่ใช้กันอยู่มากก็คือ SSL (Secure SocketLayers) แต่ก็ยังไม่ปลอดภัยนัก เพราะไม่สามารถที่จะเช็คได้ว่าผู้ถือบัตรใช่ตัวจริงหรือไม่และระบบนี้ยังบอกไดัแค่เพียงว่าร้านนี้คือใคร? จึงได้มีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาคือ SET (Secure Electronic Transaction) ซึ่งจะมีการระบุว่าเป็นตัวจริงทั้งสองฝ่าย แต่ก็มีปัญหาตามมาคือในการใช้ระบบนี้จะต้องมีการลงทุนที่สูงมากจึงทำให้ไม่แพร่หลาย

ซึ่งการทำงานจริงนั้น ระบบทั้งหมดนี้จะเป็นระบบที่ทำงานอัตโนมัติ กล่าวคือ คำสั่งซื้อที่ได้ จะถูกส่งเข้าเมล์บ็อกซ์หรือตู้จดหมายของเราอัตโนมัติ(หรืออาจจะเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลบัตรเครดิตก็สามารถส่งเข้าไปขอวงเงินที่ธนาคารได้อัตโนมัติ (ขึ้นอยู่กับระบบที่ใช้) โดยจะมีการแจ้งยืนยันไปที่ลูกค้าด้วยซึ่งถ้าใครขายสินค้า ที่สามารถดาวน์โหลดได้เลยก็จะได้เปรียบเพราะลูกค้าสามารถรับมอบสินค้าไปได้เลย ในขณะที่เจ้าของร้านก็ได้รับเงินเข้าบัญชีเลย แต่ถ้าไม่พร้อมที่จะเชื่อมต่อระบบอัตโนมัติ (ซึ่งอาจจะเนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายสูง) เราก็อาจให้ส่งเข้ามาที่ตู้รับจดหมายของเราก่อนก็ได้ แล้วค่อยโทรขออนุมัติวงเงินภายหลังก็ได้ (ถ้าสินค้าชนิดนั้นลูกค้าสามารถรอได้ แต่ถ้าเป็นสินค้าเช่น Ringtone หรือ Logo ก็ควรที่จะได้รับการอนุมัติเลย)

จากความจริงระบบนี้สามารถเข้าเชื่อมต่อกับระบบ Back Office ได้เลยจำพวก สินค้าคงคลังระบบวางแผนการผลิต ระบบการเงินและบัญชี เป็นต้นรวมทั้งอาจจะทำเป็นในระบบ Tracking สำหรับให้ผู้สั่งซื้อคอยติดตามความคืบหน้าของคำสั่งซื้อของเขาก็ได้ว่าตอนนี้ถึงขั้นตอนไหนแล้วเพื่อที่ลูกค้าจะได้มีความมั่นใจว่าของที่ตนสั่งซื้อไปอีกฝ่ายได้รับรู้เรื่องการสั่งซื้อนี้แล้ว

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

(Electronic Commerce) หรือ (E - Commerce)

ความหมายของอิเล็กทรอนิกส์ 
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต

กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

องค์กรการค้าโลก ให้คำจำกัดความไว้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 




E-Commerce คืออะไร 

Electronic Commerce หรือ E-Commerce คือ การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยส่งข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเครือข่าย เช่น Internet ถ้าผู้ใช้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ คู่สายโทรศัพท์ โมเด็ม และเป็นสมาชิกของบริการ Internet ก็สามารถทำการค้าผ่านระบบเครือข่ายได้

E-Commerce เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี Internet กับการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยสามารถนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการผ่านทาง Internet สู่คนทั่วโลกภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้การดำเนินการซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น



ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
เนื่องมาจากอัตราการเติบโตของการใช้อินเตอร์เน็ตและการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ทางธุรกิจที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้การประกอบธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ของโลกไร้พรมแดนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดของเรื่องเวลาและสถานที่ การแข่งขันทางการค้าเสรีและระหว่างประเทศที่ต้องแข่งขันและชิงความได้เปรียบกันที่ “ความเร็ว” 

ทั้งการนำเสนอสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน และได้รับความนิยมเพิ่มขันเป็นลำดับ 

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
  • แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • ปัจจัยทางการบริหาร
  • โครงสร้างพื้นฐาน
  • ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้
  • สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
  • สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต ประวัติอินเทอร์เน็ต ประโยชน์และการใช้งานอินเทอร์เน็ต


       อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า “ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ระบบการเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ต



ประวัติของอินเทอร์เน็ต

         อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก

           การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
       ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการท าธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น





การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)




1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbpsนอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS
โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

IP Address

รูปแบบของ IP address นั้นเป็นตัวเลขล้วน( มีขนาด 32 บิต) เวลาเขียน IP addressแต่ละตัวจะเขียนแทนด้วยเลขฐานสิบ โดยแบ่งเลขฐานสิบที่เขียนออกมาเป็นสี่ส่วน แต่ละส่วนคั่นด้วยจุด ดังตัวอย่าง
  • 161.200.48.9
แต่ละส่วนจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง ถึง 255 เกินกว่านั้นไม่ได้ แอดเดรสในตัวอย่างนี้เป็นแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะอักษรศาสตร์เครื่องหนึ่ง ( ซึ่งเครื่องนี้ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์) แอดเดรสนี้ท่านไม่สามารถกำหนดได้ตามใจชอบ เพราะถ้ากำหนดได้ตามใจชอบจะทำให้มีแอดเดรสซ้ำกัน (คือ อาจมีคอมพิวเตอร์สองเครื่องมีหมายเลขเดียวกัน ทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นเครื่องไหน)
หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNic) ขององค์กร Network Solution Incorpaoration (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนดหรือให้IP address เมื่อหน่วยงานใดได้นำคอมพิวเตอร์หรือเน็ตเวิร์กต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตแล้วต้องทำการขอ IP address แต่ไม่จำเป็นต้องขอโดยตรงกับ InterNic ก็ได้ มีหน่วยงานที่รับ IP address จาก InterNic มา แล้วมาทำหน้าให้ IP address เช่น หน่วยงานประเภท ISP ให้ IP address แก่ผู้ที่เป็นสมาชิก
ยกตัวอย่างในกรณีของจุฬาฯ ได้รับแอดเดรสจาก InterNic มาจำนวนหนึ่งประมาณหกหมื่นกว่าหมายเลข แอดเดรสของจุฬามีค่าระหว่าง 161.200.0.0 ถึง161.200.255.255 ChulaNet ซึ่งเป็นผู้ดูแลเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯเป็นผู้คอยกำหนดแอดเดรสให้แก่คอมพิวเตอร์ในเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯ กล่าวคือถ้าอยู่ในจุฬาฯ ให้ขอIP address จาก ChulaNet
การอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ตามต้องใช้แอดเดรสในการอ้างอิง ดังนั้นท่านต้องทราบแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อก่อน ท่านจึงจะสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์นั้นได้ เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหาในการใช้อินเตอร์เน็ต เพราะว่าแอดเดรสที่ว่านี้เป็นตัวเลขล้วนทำให้ยากต่อการจดจำและใช้งาน และแอดเดรสตัวเลขยังไม่สื่อความหมายอีกด้วย แต่ถ้าใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์จะสดวกกว่า และง่ายต่อการจดจำ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนี้จึงได้มีการพัฒนา Domain name system ขึ้นมา

Domain Name System เป็นกลไกที่ทำให้สามารถใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์หรือติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องใช้แอดเดรสที่เป็นตัวเลข
ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9เวลาติดต่อกับคอมพิวเตอร์นี้ท่านต้องระบุด้วยแอดเดรสตัวเลขเสมอ แต่เมื่อมีการใช้ Domain Name System ก็จะมีการกำหนดแอดเดรสที่เป็นชื่อให้แก่คอมพิวเตอร์ ในที่นี้ก็กำหนดเป็นชื่อ www.arts.chula.ac.th ต่อไปเมื่อท่านต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ท่านก็ใช้ชื่อ www.arts.chula.ac.th ในการติดต่อได้ หรือจะแอดเดรสที่เป็นตัวเลขคือ 161.200.48.9 ในการติดต่อก็ได้ คือได้ทั้งสองอย่าง
โครงสร้างชื่อของ Domain Name System เป็นระบบแบบลำดับชั้น (hierachical structure) กล่าวคือระบบนี้ทำการแบ่งคอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มเรียกว่าโดเมน(Domain) ในแต่ละโดเมนก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้หรือที่เรียกว่า sub domain และในแต่ละกลุ่มย่อยก็สามารถแบ่งต่อออกไปเป็นกลุ่มย่อยได้อีกจนกว่าจะพอใจ
ตัวอย่างชื่อโดเมนในระดับบนสุด
  • com หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานประเภทธุรกิจหรือหน่วยงานเอกชน
  • gov หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานภาครัฐบาล
  • edu หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานการศึกษา
  • org หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
  • net หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานที่เป็น network operator หรือprovider ต่าง ๆ
ถ้าชื่อโดเมนในระดับบนสุดยาวแค่สองหลักหมายถึงประเทศ เช่น
  • th หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย
  • us หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่าwww.tv5.co.th ซึ่งมีความหมายดังนี้
  • th หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนประเทศไทย
  • co หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในซับโดเมนธุรกิจ (แต่ต้องอยู่ในประเทศไทย)
  • www.tv5 หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้ชื่อ www.tv5
ตัวอย่างชื่อโดเมน เช่น คอมพิวเตอร์ของทีวีช่อง ที่ให้บริการด้าน web มีชื่อว่าwww.ch7.com ซึ่งมีความหมายดังนี้
  • com หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้อยู่ในโดเมนธุรกิจ
  • www.ch7 หมายถึงคอมพิวเตอร์นี้ชื่อ www.ch7